มัลลิกา อิ่มวงศ์

ศาสตราจารย์[1] ดร.มัลลิกา อิ่มวงศ์ เป็นนักวิทยาศาสตร์หญิงชาวไทยที่มีผลงานโดดเด่นในเรื่องโรคมาลาเรีย[2] ปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาชีวโมเลกุลและพันธุศาสตร์โรคเขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์มัลลิกาเป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ไทยที่ได้รับการอ้างอิงสูงสุดในร้อยละ 2 ของโลกในปี พ.ศ. 2564[3] เธอร่วมกับหน่วยงานอย่าง Worldwide Antimalarial Resistance Network (WWARN) และ หน่วยวิจัยโรคเขตร้อนมหิดลอ็อกซ์ฟอร์ด (Mahidol Oxford Tropical Medicine Research Unit – MORU) ศึกษาการแพร่ระบาดของโรคมาลาเรียสายพันธุ์ดื้อยา ฟัลซิปารัม (P. falciparum)[4]ศาสตราจารย์มัลลิกาได้รับรางวัลผลงานวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปีงบประมาณ 2565,[5] 2564,[6] 2560[7] โครงการวิจัยเรื่อง "ภาวะการดื้อยาต้านมาลาเรียของชีวโมเลกุลในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในทศวรรษที่ผ่านมา" ถือเป็นผลงานเด่นที่ทำให้มหาวิทยาลัยมหิดล ติดอันดับมหาวิทยาลัยโลก ของ US News & World Report Rankings ในปี 2022 ทั้งในสาขาโรคติดเชื้อ (Infectious Diseases) และสาขาภูมิคุ้มกันวิทยา (Immunology)[8]ได้รับทุนเมธีวิจัยอาวุสโสของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยเมื่อ พ.ศ. 2562[9] รางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2559 โดยมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมชาชูปถัมภ์[10] จากผลงานการพัฒนาการตรวจเชื้อมาลาเรียความไวสูงซึ่งสามารถตรวจเชื้อได้ต่ำกว่าการตรวจกล้องจุลทรรศน์ 2,000 เท่า[11] และได้รับทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ครั้งที่ 8 เมื่อ พ.ศ. 2553[12]

แหล่งที่มา

WikiPedia: มัลลิกา อิ่มวงศ์ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/... https://thematter.co/brandedcontent/fight-to-malar... https://elsevier.digitalcommonsdata.com/datasets/b... https://www.fwisthailand.com/2553 https://www.naewna.com/lady/241625 https://www.hfocus.org/content/2021/11/23557 https://www.tm.mahidol.ac.th/research/client/resea... https://www.nrct.go.th/LinkClick.aspx?fileticket=7... https://nriis.go.th/FileUpload/AttatchFile/News/25... https://nriis.go.th/FileUpload/AttatchFile/News/25...